กล้วยอบแห้ง
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย
วิธีการ ทำกล้วยอบแห้ง
ส่วนประกอบ
กล้วย (จะให้ดีควรใช้กล้วยที่เพิ่งสุก เริ่มจะมีจุดสีน้ำตาลเข้มๆ และไม่มีรอยช้ำ) [1]
น้ำมะนาวหรือน้ำชนิดอื่นๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรด (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
เกลือ จันทน์เทศ หรืออบเชย (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
วิธีการทำ
1. อุ่นเตาอบไว้ล่วงหน้าด้วยความร้อนระดับต่ำสุด. ใช้อุณหภูมิระหว่าง 50º—90ºC (125º—200ºF)
การใช้อุณหภูมิที่สูงกว่านี้อาจทำให้กล้วยไหม้ด้านนอก ในขณะที่ภายในยังมีความชื้นลงเหลืออยู่
2 ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้น. หากต้องการทำกล้วยอบแบบแผ่นบางๆ หั่นกล้วยให้มีความหนาประมาณชิ้นละ 1/4นิ้ว (0.6 ซม.) แต่ถ้าต้องการชิ้นที่หนาหน่อย ให้หั่นกล้วยตามแนวยาว 2 ครั้งแล้วจึงค่อยแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ตามต้องการ
หมายเหตุ: กล้วยชิ้นหนาอาจใช้เวลานานถึง 12 ชั่วโมงในการกำจัดความชื้นทั้งหมด คุณควรเริ่มทำตั้งแต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งไฟไว้ข้ามคืน แต่สำหรับกล้วยแบบแผ่นจะใช้เวลาทำน้อยกว่ามาก
หากต้องการความกรอบเป็นพิเศษ ให้หั่นกล้วยชิ้นละ 1/8นิ้ว (0.3 ซม.) สามารถใช้เครื่องสไลซ์ผักเพื่อความสะดวก
ถ้ากล้วยนิ่มหรือเละเกินไปทำให้หั่นยาก แนะนำให้แช่กล้วยในตู้เย็นประมาณ 5-10 นาทีก่อนนำมาใช้
มีดไม่จำเป็นอีกต่อไป! หากต้องการกล้วยชิ้นหนาๆ หลังปอกเปลือกกล้วยแล้วให้ใช้นิ้วของคุณจิ้มลงไปในปลายด้านใดด้านหนึ่ง เพียงเท่านี้กล้วยก็จะแยกออกเป็น 3 ซีกแล้วล่ะ แต่ถ้าหากกล้วยหักระหว่างทำ ก็ไม่ต้องกังวลไป ยังไงคุณก็ต้องนำมาหั่นเพื่อแบ่งเป็นชิ้นๆ ที่เล็กลงอยู่แล้ว
หากคุณมีกล้วยจำนวนมาก ให้นำกล้วยไปแช่ในน้ำมะนาวก่อนที่จะหั่น การทำแบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาได้ แต่ก็จะไปเพิ่มความชื้นซึ่งจะทำให้ใช้เวลาอบแห้งมากขึ้น
หากต้องการความกรอบเป็นพิเศษ ให้หั่นกล้วยชิ้นละ 1/8นิ้ว (0.3 ซม.) สามารถใช้เครื่องสไลซ์ผักเพื่อความสะดวก
ถ้ากล้วยนิ่มหรือเละเกินไปทำให้หั่นยาก แนะนำให้แช่กล้วยในตู้เย็นประมาณ 5-10 นาทีก่อนนำมาใช้
มีดไม่จำเป็นอีกต่อไป! หากต้องการกล้วยชิ้นหนาๆ หลังปอกเปลือกกล้วยแล้วให้ใช้นิ้วของคุณจิ้มลงไปในปลายด้านใดด้านหนึ่ง เพียงเท่านี้กล้วยก็จะแยกออกเป็น 3 ซีกแล้วล่ะ แต่ถ้าหากกล้วยหักระหว่างทำ ก็ไม่ต้องกังวลไป ยังไงคุณก็ต้องนำมาหั่นเพื่อแบ่งเป็นชิ้นๆ ที่เล็กลงอยู่แล้ว
หากคุณมีกล้วยจำนวนมาก ให้นำกล้วยไปแช่ในน้ำมะนาวก่อนที่จะหั่น การทำแบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาได้ แต่ก็จะไปเพิ่มความชื้นซึ่งจะทำให้ใช้เวลาอบแห้งมากขึ้น
3 แช่ในน้ำมะนาว. นอกจากจะเพิ่มรสชาติและวิตามินแล้ว การนำกล้วยไปแช่ในน้ำมะนาวยังป้องกันไม่ให้กล้วยเปลี่ยนเป็นสีเข้มอีกด้วย
แต่ถ้าคุณไม่มีปัญหากับกล้วยสีเข้มๆ ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย
อาจใช้แปรงนุ่มๆ ทาน้ำมะนาวลงบนกล้วยให้ทั่วก็ได้
สามารถเลือกใช้น้ำสัปปะรด น้ำมะนาว หรือน้ำผลไม้อื่นๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ วิตามินซีชนิดเม็ดก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน โดยให้บดละเอียดแล้วนำไปผสมน้ำก่อน
ถ้าคุณเป็นคนนึงที่ไม่ปลื้มรสชาติของน้ำผลไม้เหล่านี้เลย ให้นำน้ำผลไม้ไปเจือจางในอัตราส่วน 1:4 แล้วค่อยนำกล้วยลงแช่ประมาณ 3-5 นาที
4 นำกล้วยวางบนตะแกรงเหล็ก.
การนำกล้วยไปวางไว้บนตะแกรงเหล็กที่ยกสูงขึ้นจะทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้ความชื้นที่อยู่ในกล้วยยังจะถูกขับออกมาได้ง่ายด้วย คุณควรหาแผ่นรองอบหรือถาดอบมาวางไว้ด้านล่างเพื่อรองรับน้ำที่จะหยดลงมา
ไม่ควรวางกล้วยซ้อนหรือทับกัน แต่ขอบจะแตะกันบ้างก็ไม่เป็นไร
หากคุณไม่มีตะแกรงเหล็ก สามารถใช้แผ่นรองอบที่สเปรย์ด้วยน้ำมันกันติดแทนก็ได้ วิธีนี้อาจอบกล้วยให้แห้งช้ากว่าหลายชั่วโมง โดยเฉพาะการอบแห้งกล้วยชิ้นใหญ่ๆ เคล็ดลับคือให้แง้มประตูเตาอบไว้เล็กน้อยเพื่อช่วยในการระบายความชื้น
การเปิดพัดลมไว้ใกล้ๆ ประตูเตาอบที่แง้มอยู่สามารถช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ควรวางกล้วยซ้อนหรือทับกัน แต่ขอบจะแตะกันบ้างก็ไม่เป็นไร
หากคุณไม่มีตะแกรงเหล็ก สามารถใช้แผ่นรองอบที่สเปรย์ด้วยน้ำมันกันติดแทนก็ได้ วิธีนี้อาจอบกล้วยให้แห้งช้ากว่าหลายชั่วโมง โดยเฉพาะการอบแห้งกล้วยชิ้นใหญ่ๆ เคล็ดลับคือให้แง้มประตูเตาอบไว้เล็กน้อยเพื่อช่วยในการระบายความชื้น
การเปิดพัดลมไว้ใกล้ๆ ประตูเตาอบที่แง้มอยู่สามารถช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น
6 นำกล้วยใส่ในเตา. นำกล้วยใส่เตาอบที่ได้อุ่นไว้ก่อนแล้ว โดยให้ใช้ชั้นกลางและต้องระวังไม่ให้กล้วยหล่นลงไปที่ด้านล่างของเตาด้วย
หากใช้ตะแกรงเหล็ก ให้คุณนำแผ่นรองอบวางไว้ในเตาอบเสียก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่หยดออกมาจากกล้วยไหลเลอะเทอะ
7 ใช้เวลาอบตามขนาดของชิ้นกล้วย และให้มีความกรอบในระดับที่คุณชื่นชอบ. สำหรับกล้วยแบบแผ่น อาจใช้เวลาในการอบประมาณ 1-3 ชั่วโมง ส่วนกล้วยที่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ จะใช้เวลานานถึง 6-12 ชั่วโมง ยิ่งคุณอบนานเท่าไหร่ กล้วยก็จะยิ่งกรอบมากขึ้น!
- เมื่ออบได้ครึ่งทางแล้ว ให้กลับด้านกล้วยเพื่อไล่ความชื้นออก และให้กล้วยแห้งทั้ง 2 ด้าน ขั้นตอนนี้สำคัญมากหากคุณวางกล้วยไว้บนกระดาษรองอบโดยตรง
- ควรนำกล้วยออกจากเตาอบตอนที่มันยังนิ่มกว่าที่คุณต้องการอยู่สักหน่อย เมื่อกล้วยอบโดนลมและเริ่มเย็นลงมันก็จะกรอบขึ้นเอง
8 ปล่อยไว้ให้เย็น. วางกล้วยไว้บนตะแกรงเหล็กและพักไว้จนกระทั่งกล้วยเย็น เมื่อได้ที่แล้ว กล้วยของคุณจะแห้งสนิทและกรอบ
- หากไม่มีตะแกรงเหล็ก สามารถใช้ที่คว่ำชามหรือใช้จานแทนก็ได้
9 เก็บกล้วยอบแห้งไว้ในภาชนะสุญญากาศ. หากคุณอบกล้วยได้แห้งสนิทจริงๆ ล่ะก็ มันจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นเดือนๆ เลยล่ะ
2.สรรพคุณของกล้วย
- ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ควรทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน
และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
- กล้วย ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
- กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง
ๆที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม
คาโบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินบี12 และวิตามินซี
- ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ
เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
- กล้วยก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
- กล้วยมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้
เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือกช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
- สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
กล้วยคือคำตออบสำหรับคุณ
- อาการหงุดหงิดยามเช้า กล้วยก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
- ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
- ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง
เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
- เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการอยากเลิกสูบบุหรี่
เพราะในกล้วยมีวิตามินเอ ซี บี6 บี12 โพรแทสเซียม
และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
- ช่วยรักษาอาการท้องผูก
เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikihow.com/ทำกล้วยอบแห้ง
มังคุดอบแห้ง
มังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia
mangostana Linn. เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง
เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัสปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน
เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่
1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า "วังสวนมังคุด"
ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย
ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต
ขั้นตอนการทำมังคุดอบแห้ง
ส่วนผสมและอุปกรณ์ที่ใช้
- ผลมังคุดที่ปอกเปลือกแล้ว
4 กิโลกรัม
- เครื่องอบแห้งลมร้อน Hot Air Oven
- ถุงกันความชื้น
วิธีการทำ
1. นำเนื้อมังคุดพร้อมเมล็ด เข้าตู้อบแห้ง
2. ทำการอบแห้งมังคุดเป็น2ช่วง ช่วงแรกใช้อุณหภูมิ
80 องศาเซลเซียส อบ 2 ชั่วโมง ช่วงที่สองใช้อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
อบ 8 ชั่วโมง
3. เนื้อและเมล็ดมังคุดจะแห้งเป็นเนื้อเดียวกัน
ได้เนื้อมังคุดอบแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม
4. เก็บใส่ภาชนะที่แห้ง สะอาด ปิดสนิท
3.สรรพคุณของมังคุด
- รับประทานสดเป็นผลไม้ หรือทำเป็นน้ำผลไม้ อย่าง
น้ำมังคุด และน้ำเปลือกมังคุด
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
- มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง
ๆได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
- มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
- ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย
เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
- มังคุดรักษาสิว
เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยัยยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
ลดความเครียด
- ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์พาร์กินสัน
โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี
อารมณ์ดีอยู่เสมอ
- สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด
ทีเอช 1 และ ทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง
ๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด
มะเร็งกระเพาะอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/withikarthamangkhudxbhaeng/
ลำไยอบแห้ง
ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus
longan(มักเขียนผิดเป็น ลำใย)
มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) วงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้
บังกลาเทศ พม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ
ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน
เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด
วิธีแปรรูปลำไย
จากผลลำไยสด
เมื่อนำมาแกะเอาเนื้อจะได้เนื้อลำไยสดประมาณครึ่ง หนึ่ง
เมื่อนำไปตากแห้งจะได้เนื้อลำไยประมาณ 1/4 ของเนื้อลำใยสด
เนื้อลำไยสดมีน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ กลูโคส ฟรุกโตสและซูโครส กรด อะมิโนอีกประมาณ 9 ชนิด เนื้อลำไยแห้งยังมีเกลือแร่ที่มีประโยชน์ที่ ร่างกาย
ต้องการในปริมาณน้อย อยู่ด้วย เช่น ทองแดง สังกะสี แมงกา
นีส เป็นต้น
ลำไยสดนอกจากใช้เป็นผลไม้รับประทานสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ได้อีก งานถนอม อาหารและเทคโนโลยีอาหาร
กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพกรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้ทำการศึกษาทดลองทำผลิต
ภัณฑ์ต่างๆ จากลำไยสดเพื่อเป็นแนวทางแนะนำริเริ่มอุตสาหกรรมในครัวเรือน
และเผยแพร่เทคโนโลยีทางอาหารไปสู่ชนบท เป็นการช่วยเศรษฐกิจของกสิกรในชนบท
ได้ทางหนึ่ง
วิธีทำลำไยอบแห้ง
ส่วนประกอบ
1. เนื้อลำไย 1 กิโลกรัม
2. น้ำ 1 ลิตร
3. โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 1 กรัม
เครื่องมือ ตู้อบลมร้อน
กรรมวิธี
o ปอกเปลือกลำไย คว้านเมล็ดออก ล้างด้วยน้ำสะอาด
ได้เนื้อลำไยสด
o เตรียมสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์
(ละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 1
กรัมในน้ำ 1 ลิตร)
o แช่เนื้อลำไยในน้ำซึ่งมีโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ละลายอยู่นาน15 นาที
o เอาขึ้นวางบนตะแกรง
ตากในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70
องศาเซลเซียส จนเนื้อลำไยแห้ง
o บรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้งและปิดสนิท
|
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกัยลำไย
ลำไย
ลําไย
ชื่อสามัญ Longan (ลองแกน) (มักเขียนผิดเป็น “ลำใย“)
ลําไย ชื่อวิทยาศาสร์ Dimocarpus longan Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euphoria longan (Lour.) Steud.) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
ผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดนี้เป็นที่นิยมรับประทานอย่างมากในบ้านเรา โดย
จังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดลำพูน
สำหรับประเทศที่ปลูกมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศจีนที่มีการปลูกลำไยมาถึง 26 สานพันธุ์
แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 5 พวก ชนิดแรกคือ ลำไยกะโหลก ซึ่งเป็น
พันธ์ที่มีผลใหญ่เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ เช่น สีชมพู
อีดอ อีแดง อีดำ เป็นต้น ส่วนจำพวกที่ 2-5 ก็คือ ลำไยกระดูก ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา
ลำไยขาว และลำไยธรรมดาลำไยประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง
ๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส
ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี12 เป็นต้น
ส่วนในด้านสรรพคุณลำไยใช้เป็นยารักษาโรคก็จะได้แก่เป็นยาแก้ท้องร่วง
รักษาโรคมาลาเรีย บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร เป็นต้น
สรรพคุณของลำไย
2.
น้ำลำไยช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
3.
ใช้ทำเป็นอาหารก็ได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว
วุ้นลำไย เป็นต้น
4.
ลําไยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงมาก
เนื่องจากมีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก
5.
ลําไยมีวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยการบำรุงผิว
และเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
6.
ลำไยมีวิตามินบี12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
7.
ลำไยมีธาตุแคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในเรื่องของกระดูกและฟันให้แข็งแรง
8.
ลำไยมีธาตุฟอสฟอรัส
ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้
9.
ลำไยมีธาตุโซเดียม
ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
10.
ลำไยมีธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
11.
ช่วยให้หลับสบายและช่วยในการเจริญอาหาร
12.
ช่วยรักษาอาการหวัด ด้วยการนำใบมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
13.
ช่วยรักษาโรคมาลาเลีย ด้วยนำใบสดประมาณ 20 กรัม น้ำ 2 แก้วผสมเหล้าอีก 1 แก้ว นำมาต้มรวมกันให้เดือดจนเหลือน้ำ 1 แก้วแล้วนำมากิน
14.
ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน
ด้วยนำเมล็ดไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาทา
15.
ช่วยรักษาอาการท้องร่วง
ด้วยการนำเปลือกของต้นที่มีสีน้ำตาลอ่อนใช้ต้มเป็นยา
16.
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
ด้วยการนำใบลำไยมาชงกับน้ำร้อนดื่ม
17.
ใช้เป็นยาแก้โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหนอง
ด้วยการนำใบสดประมาณ 20 กรัมไปต้มกับน้ำดื่ม
18.
แก้ปัญหาอาการตกขาว ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
19.
ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย
ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
20.
ช่วยรักษาปัสสาวะขัด
ด้วยการนำเมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน แต่ต้องลอกเปลือกสีดำออกก่อน
21.
ดอกลำไยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สลายก้อนนิ่วในไตได้
22.
แก้อาการวิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย เพิ่มความสดชื่น
ด้วยนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาต้มน้ำกิน
23.
ลำไยอบแห้งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
ที่ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง
24.
ช่วยลดอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดขาว
25.
ลำไยมีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
26.
มีสารช่วยลดการเสื่อมสลายจากข้อเข่า
27.
มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
เพราะไม่มีผลข้างเคียง จะทำให้ลดขนาดการใช้ยาหรือเคมีบำบัดลงได้มาก
28.
ลำไยแห้งมีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวได้ดีกว่าการใช้สารเคมี
29.
เนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย
มักนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้
คุณค่าทางโภชนาการของลำไย ต่อ 100 กรัม
·
พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
·
คาร์โบไฮเดรต 15.14
กรัม
·
เส้นใย 1.1 กรัม
·
ไขมัน 0.12 กรัม
·
โปรตีน 1.31 กรัม
·
วิตามินบี1
0.031 มิลลิกรัม
3%
·
วิตามินบี2
0.14 มิลลิกรัม
12%
·
วิตามินบี3
0.3 มิลลิกรัม
2%
·
วิตามินซี 84 มิลลิกรัม 101%
·
ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม 0%
·
ธาตุเหล็ก 0.13
มิลลิกรัม
1%
·
ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
·
ธาตุแมงกานีส 0.052
มิลลิกรัม
2%
·
ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
·
ธาตุโพแทสเซียม 266
มิลลิกรัม
6%
·
ธาตุโซเดียม 0 มิลลิกรัม 0%
·
ธาตุสังกะสี 0.05
มิลลิกรัม
1%
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/north/processing/process_longan.html
สวนผลไม้ที่คนนิยมท่องเที่ยวในภาคตะวันออก
สวนผลไม้ที่คนนิยมท่องเที่ยวในภาคตะวันออก
1. สวนผลไม้สุภัทราแลนด์สวนผลไม้ที่โด่งดังของจังหวัดระยอง การันตีด้วย
"รางวัลกินรี" แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรยอดเยี่ยมในภาคตะวันออก ประจำปี
2553 สุภัทราแลนด์แห่งนี้มีพื้นที่กว้างขวางถึง 800 ไร่
ปลูกผลไม้ในพื้นที่หลากหลายชนิด เช่น
ทุเรียน มังคุด เงาะ ส้มโอ องุ่น ชมพู่ แก้วมังกร สละ มะพร้าว ขนุน
ลำไย ลองกอง เป็นต้น จุดเด่นของที่นี่คือสามารถแวะเข้าเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี
เพราะเขามีผลไม้เมืองร้อนกว่า 25 ชนิด ปลูกไว้รองรับนักท่องเที่ยว
เรียกได้ว่าแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลแต่สวนแห่งนี้ก็ยังมีผลไม้รอต้อนรับคุณอยู่เสมอ แถมยังมีขบวนรถไฟชมสวนพร้อมผู้บรรยายคอยให้ความรู้
และสามารถเลือกชิมผลไม้ต่าง ๆ ในสวนได้ตามสบาย
แบบไม่จำกัดระยะเวลาในการอยู่ในสวนอีกด้วย
ที่ตั้ง : เลขที่ 70 หมู่ 10 บนทางหลวงหมายเลข 3143 ตำบลหนองละลอก
อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 038-892-048-9, 086-998-6075
เว็บไซต์ : http://suphattraland.surprisethailand.com
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. ทุกวันตลอดทั้งปี
ราคาโดยประมาณ : 250-400 บาท
2. สวนผลไม้ลุงทองใบ
สวนผลไม้รูปแบบครอบครัวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ที่ให้ความอบอุ่นเป็นกันเอง
เหมือนแวะไปเที่ยวสวนผลไม้ของญาติยังไงอย่างนั้น แม้จะเป็นส่วนขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก
แต่สวนลุงทองใบก็ทำให้นักท่องเที่ยวอิ่มท้องและอิ่มใจได้กับบุฟเฟต์ผลไม้หลายชนิด
ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง มะม่วง มะปราง หรือแม้แต่ผลไม้แปรรูปอย่าง
ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ที่นี่เขาก็มีเช่นกัน นอกจากผลไม้ชนิดต่าง ๆ แล้ว
สวนลุงทองใบยังปลูกสมุนไพรหลากชนิดไว้เพื่อศึกษาให้ลึกซึ้งถึงสรรพคุณและค้นคว้าวิวัฒนาการใหม่
ๆ เช่น หนุมานประสานกาย, ฟ้าทะลายโจร, กระวาน, ทองพันชั่ง
เป็นต้น เรียกได้ว่ามีครบทั้งความอบอุ่น ความสนุกสนาน ความอร่อย
และยังได้ความรู้อีกด้วย
ที่ตั้ง :
ไม่ไกลจากวัดเขายายดา เลขที่ 96/1 ม.11 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 083-769-6172, 089-810-6411
เว็บไซต์ : http://suanlungtongbai.com
วัน-เวลาเข้าชม : 09.00 - 18.00 น. ทุกวัน (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และ
เดือนเมษายน-พฤษภาคม)
ราคาโดยประมาณ : 100-150 บาท
หมายเหตุ : เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ เปิดให้ชมสวนฟรี! (ดูดอกทุเรียนบาน มะปรางสุก ให้อาหารปลา
ฯลฯ)
สวนปาหนัน
3.สวนผลไม้แบบโฮมสเตย์ขนาดย่อมเยาบนพื้นที่ 12 ไร่ ที่มีโฮมสเตย์4 หลังรองรับ
พร้อมบุฟเฟต์ผลไม้นานาชนิด ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง มีอาหารอร่อย ๆ
เป็นกันเอง รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้พระทำบุญ ขี่จักรยานชมเกษตรพื้นบ้าน
เดินป่าชมฝายแม้ว เป็นต้น
ที่ตั้ง : เลขที่ 60 หมู่ 3 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
เบอร์โทร : 081-300-9518, 081-681-6927
ราคาโดยประมาณ : 150 บาท
วัน-เวลาเข้าชม : 08.00 – 17.00 น. เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ผู้จัดทำ
นาย. ภูวดล เถกิงผล ม.5/4 เลขที่ 16
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น