วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ลำไยอบแห้ง

ลำไยอบแห้ง

ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan(มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) วงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ บังกลาเทศ พม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด


วิธีแปรรูปลำไย

จากผลลำไยสด เมื่อนำมาแกะเอาเนื้อจะได้เนื้อลำไยสดประมาณครึ่ง หนึ่ง เมื่อนำไปตากแห้งจะได้เนื้อลำไยประมาณ 1/4 ของเนื้อลำใยสด
เนื้อลำไยสดมีน้ำตาลอยู่ ชนิด คือ กลูโคส ฟรุกโตสและซูโครส กรด อะมิโนอีกประมาณ ชนิด เนื้อลำไยแห้งยังมีเกลือแร่ที่มีประโยชน์ที่ ร่างกาย
ต้องการในปริมาณน้อย อยู่ด้วย เช่น ทองแดง สังกะสี แมงกา นีส เป็นต้น ลำไยสดนอกจากใช้เป็นผลไม้รับประทานสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีก งานถนอม อาหารและเทคโนโลยีอาหาร
กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพกรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้ทำการศึกษาทดลองทำผลิต ภัณฑ์ต่างๆ จากลำไยสดเพื่อเป็นแนวทางแนะนำริเริ่มอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเผยแพร่เทคโนโลยีทางอาหารไปสู่ชนบท เป็นการช่วยเศรษฐกิจของกสิกรในชนบท ได้ทางหนึ่ง



วิธีทำลำไยอบแห้ง


ส่วนประกอบ
1.  เนื้อลำไย 1 กิโลกรัม
2.  น้ำ 1 ลิตร
3.  โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 1 กรัม
เครื่องมือ  ตู้อบลมร้อน

กรรมวิธี 


o    ปอกเปลือกลำไย คว้านเมล็ดออก ล้างด้วยน้ำสะอาด ได้เนื้อลำไยสด
o    เตรียมสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ (ละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 1 กรัมในน้ำ ลิตร)
o    แช่เนื้อลำไยในน้ำซึ่งมีโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ละลายอยู่นาน15 นาที
o    เอาขึ้นวางบนตะแกรง ตากในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จนเนื้อลำไยแห้ง
o    บรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้งและปิดสนิท

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกัยลำไย




ลำไย
ลําไย ชื่อสามัญ Longan (ลองแกน) (มักเขียนผิดเป็น ลำใย“)
ลําไย ชื่อวิทยาศาสร์ Dimocarpus longan Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euphoria longan (Lour.) Steud.) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
ผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดนี้เป็นที่นิยมรับประทานอย่างมากในบ้านเรา โดย จังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดลำพูน สำหรับประเทศที่ปลูกมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศจีนที่มีการปลูกลำไยมาถึง 26 สานพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น พวก ชนิดแรกคือ ลำไยกะโหลก ซึ่งเป็น พันธ์ที่มีผลใหญ่เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ เช่น สีชมพู อีดอ อีแดง อีดำ เป็นต้น ส่วนจำพวกที่ 2-5 ก็คือ ลำไยกระดูก ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา ลำไยขาว และลำไยธรรมดาลำไยประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี12 เป็นต้น ส่วนในด้านสรรพคุณลำไยใช้เป็นยารักษาโรคก็จะได้แก่เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคมาลาเรีย บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น